ให้เราชี้นำคุณสู่ความสำเร็จระดับสากล 089-870-6878, 094-479-6999

กลยุทธ์ของเรา

กลยุทธ์

บรรยายแนวคิดการเรียนรู้

การสอนภาษาต่างประเทศมีวิธการ 2 แบบใหญ่ๆคือ

  1. Grammar-Translation Method: เน้นให้ผู้เรียนเข้าใจหลักไวยากรณ์ของภาษาและรู้ความหมายของคำศัพท์เพื่อความเข้าใจข้อเขียนและใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง ครูเป็นศูนย์กลางควบคุมการเรียนการสอน
  2. Audio-Lingual Method: เชื่อว่าฟังและพูดเป็นทักษะที่ต้องพัฒนาก่อนการอ่านและเขียน เน้นให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดและท่องบทสนทนาจนขึ้นใจ เน้นสื่อ เช่น เทปบันทึกเสียง ห้องปฏิบัติการทางภาษา แต่ปัญหาของการเรียนวิธีนี้คือการสื่อสารนอกห้องเรียนมีความซับซ้อนเกินกว่าโครงสร้างของบทสนทนาที่ครูให้ท่องในชั้นเรียนทำให้นักเรียนไม่สามารถดำเนินการสนทนาต่อได้

นักวิจัยสหรัฐฯ ราวปี 1960 (John B. Carroll, Kenneth Chastain, & Nohm Shomski) ชี้ว่าการเรียนรู้ภาษาของคนมีความสลับซับซ้อนมากกว่าที่จะเลียนแบบหรือทำซ้ำๆตาม (Audio-Lingual Method) เพียงเท่านั้น และก็ปฏิเสธการเรียนการเรียนการสอนแบบ Gramma-Translation Method เพียงอย่างเดียว จึงคิดค้นการสอนภาษาแบบใหม่ขึ้นมาเรียนกว่า การสอนภาษาตามแนวสื่อสาร (Communicative Language Teaching-CLT)  นักภาษาศาสตร์เล่านี้เชื่อว่าผู้เรียนควรต้องเริ่มแรกพัฒนาความสามารถที่จะเข้าใจภาษาก่อน (เรียนรู้กฎเกณฏไวยากรณ์) ก่อนจะนำไปประยุกต์ใช้เองในสถาณการณ์จริงบ่อยๆจนสามารถสื่อสารได้ในสังคมจริง

ปัญหาตอนนี้คือวันนี้คนไทยจำนวนมากยังไม่สามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีนัก โดยเฉพาะทักษะการฟังและพูด สาเหตุหนึ่งมาคือข้อจำกัดที่ว่าผู้เรียนมีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนน้อยมาก และผู้เรียนขาดความกล้า ขาดความเชื่อมั่น รวมทั้งขาดแรงจูงใจที่จะสนทนาภาษาอังกฤษ การฝึกภาษาอังกฤษ เราต้องทำให้ตัวเองแวดล้อมด้วยภาษาอังกฤษให้มากที่สุด ใช้ความบันเทิงเข้าช่วยค่ะ มันจะทำให้เราทำได้นาน ถ้าฝึกภาษาแล้วเราเบื่อ เราก็ทำได้ไม่นานจริงไหมคะภาษาเป็นเรื่องที่เรียนรู้ได้ไม่จบไม่สิ้นอยู่แล้ว พยายามทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตดีกว่า ที่จะมองมันเป็นวิชาวิชาหนึ่งนะคะ

แรงจูงใจในการเรียนมีสองประเภทใหญ่ๆ คือ

Extrinsic motivation คือ แรงจูงใจที่มาจากภายนอก เช่น ตั้งใจเรียนเพื่อให้ได้รับคำชม  สอบให้ได้คะแนนดีเพื่อให้ได้เรียนต่อ เป็นต้น

Intrinsic motivation คือ แรงจูงใจที่มาจากภายใน เช่น เรียนภาษาอังกฤษเพราะอยากเรียน  ตั้งใจเรียนวิทยาศาสตร์เพราะสนใจอยากรู้

เราเองก็สามารถทำให้ตัวเราเปลี่ยนจากการเรียนด้วย extrinsic motivation มาเป็น intrinsic motivation ได้เหมือนกัน สำหรับภาษาอังกฤษนั้นเราควรจะใช้วิธีเรียนให้สนุกโดยไม่หวังผลอย่างรวดเร็วมากนัก เพราะเมื่อไหร่ที่หวังผลเร็วๆ มันจะเครียดแทนที่จะเรียนด้วยความอยากเรียนอยากรู้  เมื่อไหร่ที่รู้สึกท้อแท้ก็จะคิดว่า เราเรียนแบบสนุก เพราะอยากเรียนมากกว่าที่จะหวังผลเอาวันรุ่งพรุ่งนี้ ก็จะทำให้เรียนอย่างมีความสุขได้ แล้วในที่สุดผลลัพธ์ก็จะมาเองค่ะ

ความจริงเนื้อหาหลักสูตรเรียนภาษาอังกฤษมีอยู่ทั่วไปหลากหลาย ดิฉันเป็นเพียงผู้

กลยุทธ์ปฏิบัติ

ผู้สอน: ทบทวนศัพท์ที่เรียนมาให้บ่อยที่สุด    โยงศัพท์ใหม่กับเหตุการณ์หรือรูปภาพหรือการกระทำเพื่อง่ายต่อการจำ

ผู้สอนอาจส่งคำศัพท์น่ารู้ประจำวันให้ผู้เรียนผ่าน facebook or email

ผู้สอนต้องถามผู้เรียนก่อนว่าสนใจอะไร ชอบอ่านอะไร ชอบดูหนังไหม หนังอะไร

ผู้สอนบรรยายวัฒนธรรมการเรียนรู้ของตะวันตกกับไทย ความกล้าคิดกล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็น ความชอบของตัวเอง มีความคิดเป็นของตัวเอง ให้รู้จักความคิดตัวเอง

ผู้สอนโฟกัสหรือเจาะจงที่หัวใจหลักเดียว  (ที่ผู้เรียนสนใจ อาจมีชอยส์ให้เค้าเลือก เช่นมีหนังให้เลือก มีเรื่องให้เลือก)

เช่น
ผมทำอย่างนี้กับนักเรียนของผมในฟรานซานซิสโก  พวกเราอ่านหนังสือ “ชาร์ลีกับโรงงานช็อคโกแล็ต”  จากนั้นเราได้ฟังเสียงที่มีเนื้อหาจากหนังสือ  จากนั้นเราได้ชมภาพยนตร์(ฟังเสียงไปด้วย)  จากนั้นเราได้ฟังบทสัมภาษณ์ของนักแสดง นักเรียนของผมได้เรียนรู้คำศัพท์มากมายในช่วงเวลาสั้นและพวกเขาสามารถพัฒนาการพูดได้เร็วมาก

ผู้สอน check upไปแต่ละรายว่าคนไหนสนใจเรื่องอะไร

ผู้เรียน:

เขียนไดอารี่ เพื่อหัดคิดเป็นภาษาอังกฤษ เพิ่มความคล่อง
เน้นอ่านข้อความคติสอนใจทุกต้นชั่วโมง ถ้าเราไม่เคยฟัง ก็คงพูดไม่ได้      ถ้าเราไม่อ่าน เราก็เขียนไม่ได้ค่ะ

หนังสือน่าอ่าน

The Princess Diaries by Meg Cabot ซึ่งเป็นหนังสือให้วัยรุ่นอ่าน โดยการดำเนินเรื่องจะเป็นการเขียนไดอารีของตัวเอกทั้งหมด  พออ่านๆไป เราเลยรู้สึกได้ถึงการคิดเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาที่ใช้ในเรื่องนี้ก็เข้าใจง่าย เพราะเป็นหนังสือให้เด็กกับวัยรุ่นอ่าน ตัวหนังสือก็ไม่เยอะเกินไป 

การทบทวนศัพท์ที่เรียนมาทั้งหมด (HOW?)

Leave a comment